โฮโลแกรม (Hologram)

การพิมพ์งานด้วยเทคโนโลยีโฮโลแกรม ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยสุด ๆ เริ่มใช้ในชีวิตประจำวันกันมานาน เช่น งานภาพยนตร์ คอนเสิร์ต พิพิธภัณฑ์ บัตรประชาชน ใบขับขี่ สติ๊กเกอร์กันปลอม ฯลฯ สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักกับโฮโลแกรม ในบทความนี้ All Print OK จะสรุปข้อมูลให้ได้อ่านกัน ว่าโฮโลแกรม คืออะไร มีกี่ประเภท มีลักษณะการทำงานอย่างไร และใช้งานแบบไหนบ้าง 

โฮโลแกรม คืออะไร ?

Hologram หรือ โฮโลแกรม คือ เป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นมา ด้วยกระบวนการโฮโลกราฟี ซึ่งเป็นการใช้เทคนิคต่าง ๆ ช่วยทำให้แสงสามารถกระจายจากวัตถุ ที่ทำการบันทึกหรือถูกสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้แสดงเป็นวัตถุที่ลอยอยู่ในตำแหน่งเดิม ให้ความรู้สึกเสมือนว่ามีอยู่จริงๆ 

โดยโฮโลแกรมนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และทิศทางในการมองเห็น ทำให้เราเห็นเป็นภาพแบบ 3 มิติ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารทางไกล ระหว่างคนต้นทางกับคนปลายทาง ที่อยู่คนละที่ให้สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้อย่างรวดเร็ว เหมือนกับนั่งคุยอยู่ใกล้ ๆ กัน

ต้นกำเนิด Hologram

Hologram มีต้นกำเนิดมาจากไหน ?

ต้นกำหนด Hologram ถูกคิดค้นขึ้นมาครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1948 โดย Dennis Gabor วิศวกรไฟฟ้าชาวฮังการี ผู้ค้นพบหลักการโฮโลกราฟีโดยบังเอิญ ในระหว่างที่กำลังพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ซึ่งในการค้นพบครั้งนี้ทำให้ Dennis Gabor ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1971 แต่ก็เป็นเพียงแค่ภาพ 3 มิติอิเล็กตรอน ที่เกิดจากเทคนิคแสงเท่านั้น

ต่อมาในปี ค.ศ.1964 ได้มีการนำเลเซอร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีโฮโลแกรม โดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า E.Leith และ J.Upatniks ได้ร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีโฮโลแกรมด้วยการใช้แสงเลเซอร์ ทำให้ได้ภาพบันทึกชิ้นแรกเป็นแบบ 3 มิติ ที่สามารถแสดงความกว้าง ลึก และการเปลี่ยนแปลงภาพไปตามมุมมอง ต่อมาก็ได้ถูกนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ ให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันนี้มากขึ้น

โฮโลแกรม มีกี่ประเภท ?

1. ภาพโฮโลแกรม

โฮโลแกรมประเภทภาพโฮโลแกรม จะต้องถูกส่องด้วยแสงเลเซอร์ หรือแสงที่มีสภาพหน้าคลื่นสอดคล้องกันในระดับหนึ่ง เราถึงจะสามารถมองเห็นเป็นภาพ 3 มิติได้

2. White- Light Hologram

โฮโลแกรมประเภท White-Light Hologram ภาพโฮโลแกรมที่ถูกบันทึกนั้น จะสามารถมองเห็นภาพได้ด้วยการส่องสว่างจากแสงธรรมชาติ 

การทำงานของโฮโลแกรม

การทำงานของโฮโลแกรม

สำหรับหลักการทำงานของช โฮโลแกรม จะใช้หลักการสร้างภาพให้มีการสอดแทรกของแสงที่มากระทบรูปภาพ ด้วยการฉายแสงเลเซอร์จากแหล่งเดียวกัน แยกลำแสงออกเป็น 2 เส้น เส้นหนึ่งเล็งตรงไปที่แผ่นฟิล์ม อีกเส้นเล็งไปที่วัตถุ และสะท้อนไปที่ฟิล์มด้วยการใช้กระจกเงา 

ซึ่งแสงทั้ง 2 จุดจะถูกบันทึกไว้บนฟิล์ม ทำให้ภาพมีความแตกต่างกัน ไม่เหมือนกับวัตถุต้นแบบ แต่จะเรียกว่า ภาพเสมือน (Virtual image) ปรากฏขึ้นมาตามมุมที่แสงตกกระทบเห็นเป็นภาพ 3 มิติ

ประโยชน์ของโฮโลแกรม มีอะไรบ้าง ?

ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล

จะใช้ฮาร์ดดิสที่ใช้หลักการโฮโลกราฟี ที่มีขนาดความจุสูง 125 GB เป็นอย่างต่ำ และสามารถบันทึกได้สูงสุด 1 TB มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 30 MB/s ใช้อุปกรณ์ Holographic Storage ในการเขียนข้อมูลลงไปในเนื้อของวัตถุ ช่วยทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และตอบโจทย์ความต้องการต่างๆ 

เพิ่มความปลอดภัยด้านการใช้งาน

โฮโลแกรม สามารถใช้ประโยชน์ทางด้านความปลอดภัยได้อย่างหลากหลาย เช่น บัตรเครดิต บัตรประชาชน ใบขับขี่ พาสปอร์ต เป็นสิ่งที่ทำให้ของชิ้นนั้น ๆ มีความเฉพาะตัว ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ทั้งยังสามารถป้องกันการปลอมแปลงเอกสารต่าง ๆ ได้ด้วย

โฮโลแกรม เพิ่มความปลอดภัยด้านการใช้งาน

ใช้สื่อสารทางไกล

ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำโฮโลแกรมมาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารทางไกล เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการเดินทาง ลดข้อจำกัดเรื่องสถานที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก ทั้งยังสามารถใช้ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่สำคัญได้ด้วย 

เพิ่มความโดดเด่นให้กับสินค้า

หลายแบรนด์สินค้ามีการเลือกใช้สติ๊กเกอร์โฮโลแกรม ที่แสดงภาพจำลองแบบ 3 มิติ เพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้กับสินค้า แถมการใช้โฮโลแกรมก็ยังดึงดูดสายตาคนที่เดินผ่านไปผ่านมา ให้รู้สึกสนใจในตัวสินค้าได้ด้วย

เทคโนโลยีโฮโลแกรม กับ การผลิตสติ๊กเกอร์

สติ๊กเกอร์โฮโลแกรม เป็นสติ๊กเกอร์ที่นำเทคโนโลยีโฮโลแกรมมาใช้ ซึ่งนิยมใช้งานกันอย่างหลากหลาย สามารถผลิตเป็นสติ๊กเกอร์โฮโลแกรมกันปลอม ป้องกันการลอกเลียนแบบ พิมพ์โลโก้สินค้า หรือใช้เป็นที่ติดฝากล่องสินค้า ก็สามารถช่วยเพิ่มความสวยงาม โดดเด่น และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้ไม่น้อย

สรุปเรื่องเทคโนโลยีโฮโลแกรม

โฮโลแกรม เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และมีประโยชน์เป็นอย่างมาก สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสารทางไกล ด้านความปลอดภัย ใช้บันทึกข้อมูล ช่วยเพิ่มความโดดเด่นและสะดุดตาให้กับสินค้า ทั้งยังสามารถนำไปผลิตเป็นสติ๊กเกอร์โฮโลแกรม เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบให้กับผลิตภัณฑ์สินค้าได้อีกด้วย